ความดันเลือดทำงานอย่างไร
ถ้าคุณเอาหลอดเลือดทั้งหมดในร่างกายมาเรียงต่อกันจะยาว 95,000 กิโลเมตร ทุกๆวันหลอดเลือดลำเลียงเลือดกว่า 7,500 ลิตร แม้ว่าอันที่จริงก็คือเลือกจำนวน 4-5 ลิตรที่ไหลเวียนซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น กลูโคสและกรดอะมิโน ไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
เลือดทั้งหมดนี้ทำให้เกิดแรงดันต่อผนังกล้ามเนื้อของเส้นเลือด แรงนี้เรียกว่า ความดันเลือด และขึ้นลงตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดพุ่งสูงสุดในช่วงซิสโตลิก เมื่อหัวใจบีบตัว เพื่อดันเลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดง นี่คือความดันเลือดซิสโตลิก ช่วงนี้หัวใจพักระหว่างจังหวะการเต้นความดันเลือดจะตกลงถึงจุดต่ำสุด ซึ่งก็คือความดันไดแอสโทลิก
คนสุขภาพดีทั่วไปมีความดันซิสโตลิกระหว่าง 90 และ 120 มิลลิเมตรปรอทและความดันไดแอสโทลิกระหว่าง 60 และ 80 เมื่อรวมเข้าด้วยกันถ้าปกติอยู่ที่เกือบ 120, 80 เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย ผ่านหลอดเลือดในระบบไหลเวียนโลหิต ในระบบท่อใดๆก็ตาม มีหลายสิ่งที่เพิ่มแรงดันต่อผนังท่อได้ เช่นคุณสมบัติของของเหลว ของเหลวที่เพิ่มขึ้นมาหรือท่อธิติแคบ ดังนั้นถ้าเลือดข้นขึ้นก็ต้องใช้แรงดันมากขึ้นเพื่อตัดเลือดหัวใจจึงต้องบีบตัวแรงขึ้นตาม
อาหารที่มีเกลือสูงทำให้เกิดผลทำนองนี้ เกลือทำให้น้ำคั่งง่ายขึ้นและของเหลวที่เพิ่มขึ้นนี้ เพิ่มปริมาตรเลือดและความดันเลือดและความเครียดอย่างเช่น การตอบสนองเชิงสู้หรือหนี ทำให้หลั่งฮอร์โมนเช่น อิพิเนฟริน และ นอร์อิพิเนฟริน ที่ทำให้หลอดเลือดหลักบีบตัว เพิ่มแรงต้านการไหลของเลือดและเพิ่มความดันสูงต้นทางให้ขึ้น โดยทั่วไปแล้วหลอดเลือดรับมือกับการผันแปรแบบนี้ได้สบายๆ เส้นใยยืดหยุ่นในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นกลับคืนรูปได้ แต่ถ้าความดันเลือดของคุณสูงเกิน 140,90 อยู่เสมอๆ หรือที่เราเรียกว่าความดันเลือดสูงและสูงคงที่อย่างนั้น จะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ เพราะแรงดันที่เพิ่มขึ้นต่อผนังเส้นเลือด อาจทำให้เกิดรอยแยกเล็กๆ เมื่อเนื้อเยื่อที่เสียหายปวดขึ้น สารต่างๆที่ตอบสนองต่อการอักเสบเช่นเม็ดเลือดขาว จะรวมตัวกันเรียบร้อย ไขมันและคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอยู่ในเลือดก็จะเกาะที่รอยเหล่านี้ด้วย และพอกเป็นตระกรันไขมันในที่สุด ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงด้านในแข็งและหนาตัวขึ้น ภาวะเช่นนี้เรียกว่าหลอดเลือดแดงตีบแข็งและทำให้เกิดผลพวงที่อันตรายตามมาได้ ถ้าตระกรันไขมันแตกออก ลิ่มเลือดจำกัดตัวบนรอยแตกและอุดตันหลอดเลือดที่แคบอยู่แล้ว ถ้าลิ่มเลือดใหญ่พอก็จะอุดกลั้นการไหลเวียนออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆอย่างสิ้นเชิง ในเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจภาวะเช่นนี้จะทำให้เกิดหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดออกซิเจนเริ่มตาย ถ้าลิ่มเลือดอุดกั้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองก็จะไม่เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
เส้นเลือดอุดตันจนหน้ากลัวแบบนี้ขยายได้ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน แพทย์จะแทงสายสวนเข้าทางหลอดเลือด ไปยังตำแหน่งที่อุดตัน จากนั้นจึงใส่บอลลูนแฟบๆ เข้าไปทางสายสวน เมื่อเป่าบอลลูนให้พอง บอลลูนจะดันเส้นเลือดเปิดออกเช่นเดิม บางครั้งจะใส่ท่อแข็งที่เรียกว่าขดลวดหลอดเลือดไว้ในเส้นเลือดถ่างให้เปิดออกให้เลือดไหลได้สะดวก เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ขาดออกซิเจนที่ปลายทาง
การคงสภาพยืดหยุ่นภายใต้แรงดันเป็นงานหินสำหรับหลอดเลือดแดงของเหลวที่หลอดเลือดลำเลียงประกอบด้วยสารที่อาจหนืดขั้นและอุดตัน หัวใจที่แข็งแรงดีทั่วไปจะได้ประมาณ 70 ครั้งต่อนาทีและอย่างน้อย 2,500 ล้านครั้งตลอดอายุขัย อาจดูเหมือนกับเป็นแรงกดดันมหาศาล แต่ไม่ต้องห่วงเส้นเลือดแดงของคุณพร้อมสำหรับความท้าทายนี้
9 ความคิดเห็น
เซ' ฮายด์
3 มิ.ย. 2564 20:33 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
24 ต.ค. 2563 13:09 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
5 ส.ค. 2563 20:12 น.สองดอก จิก
2 ส.ค. 2563 20:16 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
30 ก.ค. 2563 15:28 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
24 ก.ค. 2563 20:15 น.Nay Max Thummangea
12 มิ.ย. 2563 01:29 น.Siwa Chong D-zinner
4 พ.ค. 2563 21:01 น.Wannapa Kulnork
21 พ.ย. 2562 13:18 น.