วิธีการรักษาแบบใหม่ ด้วยไนโตรเจนเหลว
หูด เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น หูดมีหลายขนาดและหลายลักษณะ สามารถเกิดได้ตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย และสามารถแพร่กระจาย ติดต่อโดยการสัมผัสทางผิวหนัง ขึ้นอยู่กับชนิดของหูด โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เกิดการถลอก มีรอยขีดข่วน มีแผลหรือถูกกดทับ และแน่นอนค่ะ เราติดเชื้อและเกิดเป็นหูดขึ้นมาที่นิ้วมือ เพราะเราเป็นแผลที่เกิดจากความซุ่มซ่ามของเราเอง ย้อนกลับไปที่มาของหูดที่นิ้วมือเรา ตอนนั้นจำได้ว่าเรียนอยู่มหาลัย เข้าเรียนวิชาเคมี ซึ่งต้องเข้าห้องปฏิบัติการทดลองสาร เราเกิดอุบัติเหตุนิดหน่อย ทำหลอดทดลองสารเคมีแตก และปักโดนนิ้วมือตัวเอง(นิ้วโป้ง) ตอนนั้นก็เป็นแผลปกติ หลังจากแผลหายก็เกิดเป็นรอยแผลเป็นขึ้น เราสังเกตุแผลเป็นของตัวเอง เหมือนมันมีเป็นจุดสีดำอยู่ที่รอบแผลเป็น ด้วยความอยากรู้ว่ามันคือจุดอะไร เราเลยเอากรรไกรตัดเล็บมาตัดรอยแผลเป็นตรงนั้น(ฟังดูแปลกๆใช่มั้ยล่ะคะ 55555) จนแผลเป็นตรงนั้นยิ่งใหญ่ขึ้นๆ และกลายเป็นตุ่มขึ้นมาที่นิ้วมือ ตอนแรกก็ไม่ได้ใส่ใจค่ะ จนตุ่มขึ้นมาอีกสองเม็ดที่นิ้วชี้ ตอนนั้นก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ปกติแล้ว เลยไปหาหมอ หมอก็ตรวจดูอาการ บอกว่าเราเป็นหูด ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าไม่กำจัดออกไปจะลามไปเรื่อยๆ เราก็ไม่ลังเลค่ะ บอกคุณหมอว่าจะจี้ออก คุณหมอก็จัดการให้ โดยการจี้แบบใช้ความร้อน(โดยการเอาเนื้อตรงนั้นออกไป) ตอนจี้ออกไม่ได้รู้สึกเจ็บ เพราะฉีดยาชา แต่แผลลึกมาก ต้องทำแผล ล้างแผลอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ก็หายเแป็นปกติ แต่ยังค่ะ ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 ปี เราก็มีหูดขึ้นมาที่นิ้วมืออีกแล้ว คราวนี้ขึ้นมาอีก 2 เม็ด เราเลยลองหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับโรงพยาบาลที่รับจี้หูด ไปเจอข้อมูลจากแผนกโรคผิวหนังโรงพยาบาลราชวิถี วันต่อมาเราเลยไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล(ต้องรีบไปแต่เช้านะ เพราะเป็นโรงพยาบาลรัฐ คนเยอะมาก) ยื่นบัตรคิว กรอกประวัติ แล้วก็เข้าพบคุณหมอ
คุณหมอ: เป็นหูดใช่มั้ย ขอดูนิ้วมือหน่อยครับ
เรา: (ให้คุณหมอดูนิ้ว)
คุณหมอ: เม็ดไม่ใหญ่มาก คุณหมอจะส่งไปจี้หูดออกที่อีกแผนกนะ จะใช้วิธีการจี้ออก แบบใช้ไนโตรเจนเหลว ซึ่งเป็นนวัตกรรมการรักษาแบบใหม่ ไนโตรเจนเหลวเป็นของเหลวเย็นจัดอุณหภูมิ - 196 C เมื่อจี้หรือพ่นลงไปบริเวณผิวหนังจะทำให้อุณหภูมิของผิวหนังลดลงอย่างรวดเร็วเกิดผลึกน้ำเเข็ง หลังจากปล่อยให้อุ่นขึ้นเนื้อเยื่อนั้นจะตายจึงสามารถนำมาใช้ทำลายเนื้องอกหรือรอยโรคของผิวหนังได้ โดยที่ไม่ทำให้เจ็บ ไม่มีแผล แต่จะเห็นผลช้ากว่าการจี้ด้วยความร้อนแบบเก่า อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ หูดถึงจะลอกและหลุดออกไป
เรา: แล้วทำไมถึงเลิกใช้วิธีจี้แบบเก่าๆแล้วล่ะคะ เพราะมันก็เห็นผลชัดเจน แถมหูดหลุดออกไปทันทีด้วย
คุณหมอ: วิธีแบบเก่ามันใช้ความร้อน จี้ให้เนื้อบริเวณนั้นหลุดออกไป ซึ่งจะทำให้เป็นแผลลึกมาก นอกจากจะทำให้เจ็บแล้ว ยังทำให้เลือดออกเยอะ แถมยังต้องทำแผล ล้างแผล ดูแลรักษาแผล บางคนก็แผลติดเชื้อ ไม่ได้เป็นวิธีที่ดีนัก
หลังจากฟังคุณหมออธิบายวิธีการจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว คุณหมอก็กรอกประวัติและใบส่งตัว ส่งเราไปที่โรงพยาบาลโรคผิวหนัง(อยู่ติดกับโรงพยาบาลราชวิถี) เราก็เอาใบส่งตัวไปยื่นตรงแผนกที่โรงพยาบาลโรคผิวหนัง และรอเข้าพบคุณหมอ เพื่อทำการรักษา
รูปลักษณะของไนโตรเจนเหลวที่คุณหมอใช้
หลังจากที่เข้าพบคุณหมอ ก็เริ่มวิธีการจี้ โดยคุณหมอจะใช้ไนโตรเจนเหลว มาจี้ตรงหูด ลักษณะของไนโตรเจนเหลวจะเป็นฟองสีขาวๆ เมื่อโดนหูด จะมีความรู้สึกเย็นๆ แสบๆ คุณหมอก็จะถามตลอดว่าเจ็บมั้ย แสบไปมั้ย ซึ่งจริงๆไม่ได้เจ็บเลย รู้สึกแสบๆนิดหน่อย จี้เสร็จคือนิ้วเป็นปกติมากๆ ไม่มีแผลใดๆ ไปทำงานปกติได้ คุณหมอให้ยามาทา และกลับบ้านได้ หลังจากนั้นประมาณ 1-2 อาทิตย์ผิดหนังตรงที่เป็นหูด ก็จะค่อยๆลอกออก และหูดก็หลุดออกไปด้วย โดยที่เราไม่ได้ทายาเลย แถมบริเวญที่หูดหลุดไป ก็ไม่มีแผลเป็นเลย คือวิธีการรักษาแบบนี้ดีจริงๆค่ะ ถึงจะให้ผลที่ช้ากว่าการจี้แบบเก่าๆ แต่ก็ทำให้หูดหลุดออกไปจากเนื้อเราได้ โดยที่ไม่มีแผล ไม่เจ็บ ไม่ฉีดยาชา นับว่าเป็นนวัตกรรมการรักษาแบบใหม่ที่ก้าวหน้าจริงๆ
**สำหรับใครที่มีปัญหาเกี่ยวหับหูด ขึ้นตามร่างกาย อย่าปล่อยไว้นะคะ เพราะมันอาจจะลามไปส่วนอื่นๆ ต้องกำจัดออกไปนะคะ ใครที่สนใจ สามารถโทรไปสอบถามทางโรงพยาบาลได้ตามที่อยู่และเบอร์ติดต่อด้านล่างนี้เลยค่ะ
ที่อยู่โรงพยาบาลราชวิถี: 2 Phayathai Rd, Thung Phaya Thai, Ratchathewi, Bangkok 10400
เบอร์โทรศัพท์: 02 354 8108
6 ความคิดเห็น
วชิราภรณ์ ขำคง
16 ต.ค. 2565 06:40 น.Pepepe
12 มิ.ย. 2565 00:35 น.Somphong Charoenrat
12 ส.ค. 2564 18:58 น.Nawa Pongwaramitchai
1 มิ.ย. 2564 01:59 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
27 ก.ค. 2563 17:27 น.Pim Pim
3 ก.ค. 2563 17:53 น.