ทำไมเราถึงสะอึก การสะอึกมีประวัติการเป็นมาอย่างไร และมีวิธีรักษาได้หรือไม่
ชาร์ลี ออสบอน เริ่มสะอึกในปี ค.ศ. 1922 หลังจากที่หมูตอนล้มลงใส่เขา เขาไม่ได้รับการรักษาให้หายจนกระทั่งอีก 68 ปีต่อมา และตอนนี้กินเนสบันทึกให้เป็นผู้ปกครองสถิติโลกของการสะอึกที่ยาวนานที่สุด ในขณะเดียวกัน เจนิเฟอร์ มีย์ วัยรุ่นชาว Florida อาจครองสถิติการสะอึกที่ถี่ที่สุดคือ 50 ครั้งต่อนาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ในปี ค.ศ. 2007
แล้วอะไรการที่ทำให้เกิดการสะอึก แพทย์บอกว่ารอบของการสะอึกมักเกิดขึ้นตามมาจากการกระตุ้นที่ขยายกระเพาะอาหาร เช่น การสูดอากาศเข้าไปหรือการกินดื่มน้ำหรือจนเกินไป บ้างก็ว่าการสะอึกเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่รุนแรงหรือการตอบสนองต่อพวกมัน เช่น การหัวเราะ สะอื้น ประหม่าและตื่นเต้น
เรามาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อสะอึก เริ่มด้วยการกระตุกเกร็งโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือการบีบตัวฉับพลันของกระบังลม กล้ามเนื้อรูปทรงโดมขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ปอด ที่เราใช้ในการหายใจเข้า นั่นตามมาติดด้วยการปิดของเสียงในทันทีและการเปิดระหว่างเส้นเสียงที่เรียกว่าช่องสายเสียง การเคลื่อนของกระบังลมทำให้เกิดการดึงอากาศเข้าในทันที แต่การปิดของเส้นเสียงหยุดมันไม่ให้เข้าไปในหลอดลมและไปถึงปอด มันยังทำให้เกิดเสียงที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ดัง ฮิก
ซึ่งตอนนี้เราไม่รู้ว่าหน้าที่ของการสะอึกคืออะไร การสะอึกไม่น่าจะมีผลดีทางการรักษาหรือทางกายภาพใดๆ ทำไมอากาศจากการหายใจเข้าไปเร็วเกินไปถึงถูกหยุดยั้งไม่ให้เข้าไปถึงปอด โครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์หรือกลไกทางสรีรวิทยา ที่ไม่มีประโยชน์ชัดเจนเป็นความท้าทายต่อนักชีววิทยา วิวัฒนาการ โครงสร้างดังกล่าวทำหน้าที่บางอย่างที่เรายังไม่รู้หรือเปล่า หรือพวกมันเป็นร่องรอยของวิวัฒนาการในอดีต ที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่สำคัญบางอย่าง แต่ตอนนี้เป็นเพียงร่องรอยส่วนที่เหลืออยู่
แนวคิดหนึ่งกล่าวว่าข้าศึกเริ่มขึ้นหลายล้านปีก่อน ก่อนที่จะมีมนุษย์เสียอีก คาดว่าปอดมีวิวัฒนาการโครงสร้างมาเพื่อให้ปลาในยุคแรกๆส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำอุ่น นิ่ง และมีออกซิเจนน้อย ได้ประโยชน์จากออกซิเจนที่มีอยู่มากมายในอากาศเหนือขึ้นไป เมื่อสัตว์ที่เป็นลูกหลานของสัตว์เหล่านี้ย้ายมาอยู่บนบกในที่สุด พวกมันเลิกใช้ช่องเหงือกมาเป็นการหายใจด้วยปอด นั่นก็คล้ายคลึงกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่กบในปัจจุบันพบเจอ เมื่อพวกมันเปลี่ยนจากลูกอ๊อดที่มีเหงื่อเป็นกบตัวเต็มวัยที่มีปอด สมุติฐานนี้บอกว่าการสะอึกเป็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงโบราณ จากน้ำสู่บก การหายใจเข้าที่อาจเคลื่อนน้ำให้ผ่านเหงือก ตามมาด้วยการปิดอย่างรวดเร็วของกล่องเสียงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในปอด มีหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานนี้ซึ่งบอกว่าการออกแบบโดยธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดการสะอึกนั้น แทบจะเหมือนกันกับสิ่งที่ทำหน้าที่ในการหายใจของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มเชื่อว่าปฏิกิริยา reflex นั้นยังคงอยู่ในพวกเราในปัจจุบัน เพราะว่าอันที่จริงมันให้ผลดีที่สำคัญ พวกเขาแนะนำว่าการสะอึกจริงๆถูกพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น และมันไม่คงอยู่ในนก สัตว์เล็ก เต่าหรือในสัตว์อื่นๆที่หายใจโดยใช้ปอด
นอกจากนี้การสะอึก เกิดขึ้นในเด็กทารกนานก่อนที่จะเกิด และยังพบได้บ่อยกว่าทารกเมื่อเทียบกับในผู้ใหญ่ คำอธิบายคือมันเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเลี้ยงดูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ การสะอึกโบราณอาจปรับเปลี่ยนโดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อช่วยกำจัดอากาศจากกระเพาะอาหารเหมือนกับการเรอ อะไรอย่างนั้น การขยายตัวในทันทีของกระบังลมทําให้อากาศดันตัวสูงขึ้นจากกระเพาะ ในขณะที่การปิดของช่องสายเสียงจะป้องกันนมไม่ให้เข้าไปในปอด
บางครั้งเราจะสะอึกไปเรื่อยๆไม่ยอมหยุด และเราก็พยายามหาวิธีทางรักษาแบบบ้านๆ เช่นการดื่มน้ำเย็นจะแก้อย่างต่อเนื่อง กลั่นหายใจ กินน้ำผึ้งคือถั่วคำโตๆ หายใจในถุงกระดาษหรือทำให้ตกใจในทันที โชคไม่ดีที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบว่ามีการรักษาใดที่ได้ผลดีและสม่ำเสมอกับการรักษาอื่นๆ
11 ความคิดเห็น
มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
14 พ.ค. 2564 19:35 น.Zumm Arikun
15 ม.ค. 2564 01:10 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
24 ต.ค. 2563 16:53 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
31 ส.ค. 2563 16:24 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
15 ส.ค. 2563 19:45 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
27 ก.ค. 2563 16:21 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
25 ก.ค. 2563 16:45 น.ผิดที่เรา' เจอกันช้าปัย
22 พ.ค. 2563 16:04 น.พี่ชมพู่ น้องมัดไหม
5 ก.พ. 2563 12:39 น.น้องอาร์มคับป๋ม น้องอาร์มคับป๋ม
24 พ.ย. 2562 07:51 น.Jirawan Poyim
21 พ.ย. 2562 13:42 น.