แผลที่ผิวหนัง บนร่างกายของเรารักษาตัวเองได้อย่างไร
อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของคุณไม่ใช่ ตับหรือสมอง มันคือผิวหนังของคุณ ที่ในผู้ใหญ่นั้นมีพื้นที่ผิวประมาณ 20 ตารางฟุต ถึงแม้ว่าผิวหนังในแต่ละพื้นที่นั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นผิวนี้ทำหน้าที่คล้ายๆกัน เช่น ขับเหงื่อ รับรู้สึกถึงความร้อนและเย็น และสร้างขน แต่หลังจากโดนบาดลึกหรือเป็นแผล ผิวหนังที่พึ่งหายนั้น ก็จะดูแตกต่างจากผิวบริเวณรอบๆ และอาจไม่ได้ฟื้นฟูความสามารถทุกอย่างกลับมาซักช่วงระยะหนึ่งหรือตลอดไป
เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมมันจึงเกิดขึ้น เราต้องมาดูที่โครงสร้างผิวหนังของมนุษย์
ชั้นนอกสุดเรียกว่าผิวชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์แข็งที่เรียกว่า คีราติโนไซด์ และทำหน้าที่ป้องกัน เนื่องจากชั้นนอกมีการปรับและสร้างขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา จึงค่อนข้างที่จะซ่อมแซมได้โดยง่าย แต่บางครั้ง แผลลึกไปถึงชั้นหนังแท้ ที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือด ต่อมต่างๆและปลายประสาท ที่ช่วยทำให้ผิวหนังทำหน้าที่ต่างๆ และเมื่อมันเกิดขึ้นมันกระตุ้นให้เกิด 4 ขั้นตอนที่ทับซ้อนกันของกระบวนการสร้างใหม่
ขั้นแรก การห้ามเลือดเป็นการตอบสนองของผิวต่อสองภัยคุกคามอย่างทันที คือตอนนี้คุณกำลังเสียเลือดและประการกายภาพของชั้นผิวกำพร้าถูกทำลาย ขณะที่หลอดเลือดจะหดตัว เพื่อลดการเสียเลือดในกระบวนการที่เรียกว่า หลอดเลือดหดตัว ภัยคุกคามทั้งสองจะบรรเทาจากการสร้างลิ่มเลือดโปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่าไฟบริน สานเชื่อมโยงกันที่ด้านบนของผิว เป็นการป้องกันเลือดไม่ให้ไหลออกและไม่ให้แบคทีเรียหรือเชื้อโรคเข้ามา หลังจากนี้ไปประมาณ 3 ชั่วโมง ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง ส่งสัญญาณให้เกิดขั้นตอนต่อไปคือ การอักเสบ เมื่อควบคุมการเสียเลือดและชั้นผิวนั้นปลอดภัยแล้ว ร่างกายจะส่งเซลล์พิเศษเพื่อสู้กับเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามา ในบรรดาเซลล์ที่สำคัญที่สุดคือเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า มาโครฟาร์จ ที่จะจัดการแบคทีเรียและเนื้อเยื่อที่เสียหายผ่านกระบวนการที่เรียกว่าฟาโกไซโทซิส
นอกเหนือไปจากการสร้างโกรธเฟคเตอร์ เพื่อช่วยในการฟื้นฟู เพราะว่าทหารตัวน้อยเหล่านี้ต้องออกเดินทาง ผ่านเลือดเพื่อไปบริเวณที่มีบาดแผล หลอดเลือดที่เคยหดตัว ตอนนี้กลับมาขยายในกระบวนการที่เรียกว่า การขยายหลอดเลือด
หลังจากเกิดแผลได้ 2-3 วันและการเพิ่มจำนวนเกิดขึ้น เมื่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ เริ่มเข้าไปที่แผลในกระบวนการผสมคอลลาเจน พวกมันสร้างเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่าคอลลาเจน ในบริเวณที่เป็นแผลเพื่อสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แทนที่ไฟบรินเดิม
เมื่อเซลล์ชั้นหนังกำพร้าแบ่งตัวเพื่อที่จะสร้างผิวชั้นนอก ชั้นหนังแท้จะหดตัวเพื่อปิดแผล ในที่สุดขั้นตอนที่ 4 ของการเปลี่ยนแปลง แผลนั้นเกือบหายดีเมื่อคอลลาเจนที่ถูกสะสมถูกจัดวางตัวใหม่และเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบเฉพาะ ด้วยกระบวนการนี้ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่า 1 ปี ความต้านทานต่อแรงดึงของผิวใหม่นั้นดีขึ้น หลอดเลือดและการเชื่อมโยงต่างๆและแข็งแรงขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไปเนื้อเยื้อใหม่นั้นมีประสิทธิภาพการทำ 50 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ต้องการทำงานของมัน ในภาวะปกติ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผลในครั้งนั้น และการทำงานของตัวมันเอง
แต่พบว่าผิวไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แผลเป็นยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญสำหรับแพทย์ทั่วโลกและถึงแม้ว่านักวิจัยที่มีความพยายามอย่างมาก ในการทำความเข้าใจต่อกระบวนการฟื้นตัว ความลึกลับพื้นฐานมากมายก็ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผย ยกตัวอย่างเช่น เซลลไฟโบรบาราสต์นั้นมาถึงบริเวณแผลผ่านทางหลอดเลือดหรือว่าจากเนื้อเยื่อผิวหนังที่อยู่ติดกับแผล และทำไมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นเช่น กวาง สามารถรักษาแผลได้มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์กว่ามนุษย์อย่างมาก ด้วยการค้นหาคำตอบคำถามเหล่านี้และคำถามคนอื่นๆ สักวันหนึ่งเราอาจจะสามารถรักษาตัวเองได้ดี จนแผลเป็นนั้นกลายเป็นแค่ความทรงจำ
6 ความคิดเห็น
Pommi
6 ก.พ. 2566 21:56 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
28 ก.ค. 2563 11:25 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
26 ก.ค. 2563 15:59 น.วิฑูรย์ จันทรมาศ
1 มี.ค. 2563 01:04 น.พี่ชมพู่ น้องมัดไหม
5 ก.พ. 2563 12:41 น.Wannapa Kulnork
21 พ.ย. 2562 23:04 น.