ดิค ฟอสบิวรี (Dick Fosbury) นักกีฬาคนหนึ่งที่ใช้หลักการฟิสิกส์ในการทำลายสถิติโลก
ช่วงต้นศตวรรษที่ 1960 ดิค ฟอสบิวรี (Dick Fosbury) ได้ลองเล่นกีฬาเกือบจะทุกชนิด แต่ไม่รุ่งสักอย่าง
ช่วงอายุ 16 ปีเขาเริ่มเล่นกระโดดสูง แต่ว่าตอนที่เขาแข่งแพ้นักกีฬาเก่งๆในโรงเรียนโดยใช้เทคนิคกระโดดสูงแบบมาตรฐานในตอนนั้น ฟอสบิวรี ได้ลองกระโดดด้วยท่าทางที่ต่างออกไป โดยการกระโดดถอยหลัง แทนที่จะกระโดดด้วยหันหน้าเข้าหาบาร์ให้ขาแต่ละข้างข้ามพ้นบาร์ ตามแบบวิธีดั้งเดิม เขากระโดดด้วยหันหลังให้กับบาร์ ฟอสบิวรี ได้เพิ่มสถิติใหม่ของเขาได้อีกครึ่งฟุตและสร้างความประหลาดใจให้กับโค้ชด้วยการกระโดดสูงแบบใหม่ที่ดูแปลกๆ ตลอดช่วง 2-3 ปีหลังจากนั้นฟอสบิวรี ได้ปรับปรุงทางลงเขาจนสมบูรณ์ จนชนะการคัดตัวนักกีฬาทีมชาติสหรัฐได้สิทธิ์ไปแข่งโอลิมปิกในปี 1968 ที่เม็กซิโก ณ ที่นั้น ฟอสบิวรี ที่ทำให้โลกตะลึงกับเทคนิคใหม่ของเขาและได้รับเหรียญทอง พร้อมทำลายสถิติโอลิมปิกที่ความสูง 2.20 เมตร การแข่งโอลิมปิกครั้งถัดมา นักกีฬากระโดดสูงเกือบทุกคน ได้ใช้ท่ากระโดดที่ภายหลังถูกขนานนามว่า ถ้ากระโดดแบบว่า ฟอสบิวรี
อะไรคือเคล็ดลับเบื้องหลังเทคนิคนี้ มันอธิบายได้ด้วยหลักฟิสิกส์ที่เรียกว่าจุดศูนย์กลางมวล สำหรับทุกวัตถุเราสามารถระบุตำแหน่งเฉลี่ยของมวลวัตถุนั้นได้ โดยดูกันว่ามวลของวัตถุนั้นก็ใช้ตัวในรูปแบบใด
ตัวอย่างเช่นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ จะอยู่ตรงที่เป็นจุดตัดเส้นทแยงมุมสองเส้น ซึ่งเป็นจุดที่ระยะทางจากมุมแต่ละมุมเท่ากัน เราสามารถหาจุดศูนย์กลางมวลวัตถุอื่นได้อีกตัววิธีคล้ายๆกัน โดยการหาจุดสมดุลของวัตถุนั้นซึ่งจะอยู่ตำแหน่งใต้จุดศูนย์กลางมวลของวัตถุนั้น ลองหาจุดสมดุลของไม้กวาดโดยถือมันไว้ แล้วค่อยๆหุบมือจนมาชนกัน จุดสมดุลนี้จะอยู่ใต้จุดศูนย์กลางมวลของไม้กวาดพอดี
มนุษย์เราก็มีจุดศูนย์กลางมวลเช่นกัน เมื่อเรายืนตรง จุดศูนย์กลางมวลจะอยู่แถวๆท้อง จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราใช้มือทั้งสองข้างเหนือศีรษะ จุดศูนย์กลางมวลก็จะขยับสูงขึ้น ซึ่งมันจะเปลี่ยนตำแหน่งไปมาตลอดเวลาที่เราเคลื่อนไหวร่างกาย ขึ้นอยู่กับทางของเราในตอนนั้น แม้กระทั่งเส้นไปอยู่นอกตัวเราก็ได้ เมื่อคุณก้มตัวไปข้างหน้าจุดศูนย์กลางมวลจะไปอยู่ตรงจุดใต้ท้อง ซึ่งเป็นที่ว่างที่ไม่มีมวลอะไรอยู่ตรงนั้น แม้จะต้องถูกๆแต่มันก็เป็นตำแหน่งโดยเฉลี่ยของมวลร่างกายคุณ ตรงจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุหลายชนิดอยู่นอกตัวมันเช่นโดนัทหรือบูมเมอแรง
กลับมาที่ท่ากระโดด แบบฟอสบิวรี และดูตำแหน่งของจุดศูนย์กลางมวลของนักกีฬา นักกระโดดจะวิ่งอย่างเร็วเพื่อที่เขาจะได้เปลี่ยนความเร็วในแนวราบเป็นความเร็วในแนวดิ่งแล้วกระโดด นี่ยังไงละ ดูที่จุดศูนย์กลางมวลของเขา ขณะที่ตัวเขางอไปทางด้านหลัง มันอยู่ตำแหน่งใต้ฟ้ากระโดด นี่เป็นเคล็ดลับของท่ากระโดดนี้
เมื่อลองดูเทคนิคการกระโดดสูงแบบดั้งเดิม นักกีฬาจะต้องออกแรงให้มากพอที่จะยกจุดศูนย์กลางมวลของเขาที่สูงพ้นบาร์ เพื่อที่จะกระโดดผ่าน คนที่ใช้ท่ากระโดด ฟอสบิวรี ไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น ความหลักแหลมของเทคนิคนี้ก็คือ นักกระโดดสามารถใช้แรงกระโดดที่เท่ากันแต่กลับยกตัวได้สูงกว่าเดิม นี่หมายความว่าก็สามารถเพิ่มความสูงของบาร์กระโดด แม้ว่าจุดศูนย์กลางมวลของเขาจะไม่ได้สูงกว่าบาร์ แต่ตัวเขากลับข้ามบาร์ไปได้
เทคนิค ฟอสบิวรี ทำให้กระโดดได้สูงขึ้น ด้วยการแจ้งจุดศูนย์กลางมวล ออกจากตัวของนักกระโดดสูง ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะกระโดดได้สูงยิ่งกว่าเดิม ท่ากระโดยแบบ ฟอสบิวรี อาจถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งสําคัญในวงการกีฬาเพียงอันเดียว ที่เป็นการก้าวกระโดดถอยหลังที่ยิ่งใหญ่ด้วยเช่นกัน
3 ความคิดเห็น
เซ' ฮายด์
3 มิ.ย. 2564 20:53 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
30 ก.ค. 2563 08:56 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
27 ก.ค. 2563 08:15 น.