วิธีรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่ ลองตั้งสมการหามูลค่าเวลาที่แท้จริงของราคาสินค้าดูสิ
ถ้าคุณคิดว่าตัวเองอยากจะเก็บเงินสร้าง ฟังเทคนิคเคล็ดลับมามากมาย แต่ก็ยังทำไม่ได้สักที บางทีคุณอาจจะลองเริ่มศึกษาวิธีรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่กันครับ
คุณรู้ไหมอะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้เงินไหลออกจากมือไม่หยุด นั่นก็คือสมอง เราเชื่อว่าการซื้อของจะทำให้เรามีความสุข สมองเลยสั่งให้ร่างกายจับจ่ายใช้สอยเงินไม่ยั้งคิดและความสุขของตัวเอง ไม่เป็นไรหรอกเดี๋ยวก็หาเงินใหม่ได้ เงินเป็นทรัพยากรที่มีไม่จำกัด ถ้ายังไม่ตายหาใหม่ได้เสมอ แต่ถ้าเกิดคุณ ต้องการหยุดการใช้จ่ายเกินตัว เราต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่า เราเอาเงินซื้อความสุขและเราเอาอะไรซื้อเงิน
คนที่ไขคำตอบนี้ได้ ก็จะสามารถรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่ได้ สมการที่เราต้องใช้ก็คือ เราใช้เวลาซื้อเงินในราคาเท่าไหร่
ยกตัวอย่าง เอสอยากจะได้โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ราคา 14,000 บาท ในระหว่างที่เอสกำลังจะควักเงินซื้อนั้น สมองของเขาก็รีบทำงานทันที เอสทำงานเป็นพนักงานเสริฟอาหาร เงินเดือนของเอส ก็คือ 12,000 บาท เอสทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน เท่ากับทำงานเดือนละ 24 วันโดยประมาท ดังนั้นค่าแรงของเอสต่อ 1 วันก็คือ 500 บาท ในแต่ละวัน เอสต้องจ่ายค่ารถตู้ไปกลับ 40 บาท กลางวันก็ซื้อกับข้าวอีก 50 บาท เท่ากับ เอส จะเหลือกำไรจริงๆ 410 บาทต่อ 1 วัน เอสใช้เวลาเดินทางไป 1 ชั่วโมง กลับ 1 ชั่วโมง ทำงาน เก้าโมงเช้า ถึง หกโมงเย็น หัพักกลางวันหนึ่งชั่วโมงออกไป เท่ากับทำงานวันละ 10 ชั่วโมง เมื่อเอากำไรที่ได้ในแต่ละวัน 410 บาทมาหารชั่วโมงทำงานที่แท้จริงก็คือ 10 ชั่วโมงจะเท่ากับทุกๆ 1 ชั่วโมงจะทำเงินได้ 41 บาท หรืออีกความหมายหนึ่ง 1 ชั่วโมงของ เอส มีมูลค่า 41 บาท
ถ้าเอสอยากจะซื้อมือถือเครื่องละ 14,000 บาท เอสไม่ได้เอาแบงค์พัน 14 ใบไปแลก แต่เอส ต้องจ่ายเวลาในชีวิตมากถึงราคา 14,000 บาทหารด้วย 41 บาท = 292 ชั่วโมง ใช่ครับสิ่งที่เอสอยากจะได้นั้น เอสจะต้องใช้เวลาในชีวิตมากถึง 292 ชั่วโมง เพื่อไปแลกมันมา ถ้ามองที่ตัวเลขราคา 14,000 บาทอาจจะไม่เสียดายเงินเพื่อซื้อความสุข เอสซื้อได้แน่นอน แต่พอเปลี่ยนจากเงินมาเป็นเวลาในชีวิต เอสเริ่มคิดใหม่ทันที นี่จะต้องใช้เวลาทำงานมากถึง 292 ชั่วโมงหรือต้องทำงานวันละ 10 ชั่วโมงอีก 29 วันเต็มๆเพื่อสิ่งที่ฉันอยากจะได้อย่างนั้น ฉันจะซื้อดีไหมนะ เห็นไหม เอสเริ่มรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่ได้แล้ว
อีกสักตัวอย่างไหมครับ
ปุ๋ยอยากจะได้กระเป๋าแฟชั่นแบรนด์เนมราคา 50,000 บาท เธอกำลังจะควักเงินซื้อแล้ว ทันใดนั้นก็มีเสียงในหัวดังขึ้นว่า ปุ๋ยทำงานประจำเงินเดือน 30,000 บาททำงาน 5 วันต่อสัปดาห์เวลาทำงานเท่ากันกับเอสเลย เท่ากับปุ๋ยมีรายได้ต่อวันอยู่ที่ 30,000 บาท / 24 วันเท่ากับวันละ 1,250 บาท ปุ๋ยจ่ายค่ารถวันละ 100 บาทข้าวกลางวันร่วมกันกับกาแฟอีก 100 บาท เท่ากับว่ากำไรต่อวันของปุ๋ยจะอยู่ที่ 1,200 บาทลบด้วย 200 บาท = 1,050 บาท
ปุ๋ยออกจากบ้าน 07:00 นแล้วกลับถึงบ้านตอน 20:00 นใช้เวลาเดินทางวันละ 4 ชั่วโมงเธอทำงาน 9:00 น. ถึง 18:00 น. หักเวลาพัก 1 ชั่วโมงจะเท่ากับปุ๋ยใช้เวลาทำงานวันละ 12 ชั่วโมง เมื่อหาเวลาทำงานที่แท้จริงได้แล้ว ปุ๋ยมีกำไรต่อชั่วโมงอยู่ที่ 1,050 บาทหารด้วย 12 ชั่วโมงเท่ากับ 87 บาท
นั่นหมายความว่าเวลาของปุ๋ย 1 ชั่วโมงมีมูลค่า 87 บาท ถ้าปุ๋ยต้องการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคา 50,000 บาท นั่นหมายถึงปุ๋ยจะต้องเอาเวลาในชีวิตมากถึง 50,000 บาทหารด้วย 87 เท่ากับ 574 ชั่วโมงหรือปุ๋ยต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมงไปอีก 47 วันเต็มๆ เอา 47 วันในชีวิตไปแลกกับกระเป๋าเพียงใบเดียว คุ้มไหม พอปุ๋ยรู้อย่างนี้ ปุ๋ยก็เริ่มคิดเยอะขึ้น เห็นไหมปุ๋ยกำลังรักษาโรคเก็บเงินไม่อยู่แล้ว
ใช่ครับเราทุกคนเอาเงินไปซื้อความสุข แต่ก็ลืมคิดไปว่าเราต้องเอาเวลาในชีวิตไปซื้อเงิน ให้คุณหลุดพ้นจากสมการนี้คุณต้องทำ 3 อย่างนั้นก็คือ
1. พัฒนาตัวเองทำงานเต็มที่เพื่อเพิ่มศักยภาพและเงินเดือน
2. อาชีพเสริมแม่เรามีรายได้หลายทาง
3. เรียนรู้เรื่องการลงทุนเพื่อศึกษาเรื่องให้เงินทำงาน
ถ้าวันนี้คุณยังติดนิสัยใช้เงินไม่ยั้งคิดจนไม่เหลือเงินเก็บ ลองเปลี่ยนจาก ฉันจะใช้เงินซื้อความสุขเป็นฉันต้องใช้เวลาเท่าไหร่เพื่อซื้อเงินและเอาเงินไปซื้อของให้ฉันอยากจะได้ คุณสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยสมการ
รายได้ที่แท้จริงต่อ 1 วัน / ชั่วโมงทำงานทั้งหมดในหนึ่งวัน = มูลค่าเงินตอน 1 ชั่วโมง
หลังจากนี้เมื่อคุณอยากจะซื้ออะไร อย่าคิดว่าคุณต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ แต่ให้คิดว่าคุณใช้เวลากี่ชั่วโมงในการแลกสิ่งของชิ้นนั้นมาเป็นของคุณ เพราะว่าชีวิตคนเรามีเวลาจำกัด
ด้วยหลักคิดนี้จะทำให้คุณสามารถตั้งใจก่อนใช้เงินซื้อของได้อย่างแน่นอนครับ
6 ความคิดเห็น
Kanchana Chatting
29 มี.ค. 2564 09:11 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
31 ส.ค. 2563 16:33 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
28 ก.ค. 2563 12:14 น.มึน เราะ เราชื่อ ตุ๊กตา.
25 ก.ค. 2563 12:19 น.เหิน จันทรา
25 ก.ค. 2563 08:33 น.อดิศร ประทุม
11 ม.ค. 2563 02:26 น.